เมนู

และให้ข้าวต้มข้าวสวยเป็นต้น. บทว่า กิจฺจํ วา โน กริสฺสติ ความว่า
เขาพักการงานของคนไว้แล้ว จักไปช่วยทำกิจของเราซึ่งเกิดในในราชตระกูล
เป็นต้น. บทว่า กฺลวํโส จิรํ ฐสฺสติ ความว่า เมื่อบุตรรักษาไม่ทำสมบัติ
ของเรามีนา สวน เงิน และทองเป็นต้น ให้ฉิบหายไป วงศ์ตระกูลก็จักตั้ง
อยู่นาน. อนึ่ง เขาไม่ทำสลากภัตทานเป็นต้น ที่เราประพฤติกันมาแล้วให้
ขาดสาย คงดำเนินไป วงศ์ตระกูลของเราก็จักตั้งอยู่นาน. บทว่า ทายชฺชํ
ปฏิปชฺชติ ความว่า บุตรเมื่อประพฤติตนสมควรแก่มรดก ด้วยการปฏิบัติ
อันสมควรแก่วงศ์ตระกูลก็จักปกครองมรดก อันเป็นสมบัติของเราได้. บทว่า
ทกฺขิณํ อนุปฺปทสฺสติ ความว่า บุตรจักเพิ่มทานอุทิศส่วนบุญให้ ตั้งแต่
วันที่สาม นับแต่วันตาย. บทว่า สนฺโต สปฺปุริสา ความว่า พึงทราบว่า
เป็นสัตบุรุษ คนดีด้วยการปฏิบัติชอบในมารดาบิดาในฐานะนี้. บทว่า ปุพฺเพ-
กตมนุสฺสรํ
ความว่า เมื่อระลึกถึงคุณอันมารดาบิดากระทำไว้ก่อนแล้ว. บทว่า
โอวาทการี คือ เป็นผู้ทำตามโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้แล้ว. บทว่า ภตโปสึ
ได้แก่ บุตรจักเลี้ยงดูมารดาบิดา ซึ่งท่านเลี้ยงตนมา. บทว่า ปสํสิโย ความว่า
เป็นผู้อันมหาชนพึงสรรเสริญในปัจจุบันนั่นแล.
จบอรรถกถาปุตตสูตรที่ 9

10. สาลสูตร


ว่าด้วยความเจริญ 5 ประการ


[40] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นสาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมวันต์ ย่อม
เจริญด้วยความเจริญ 5 ประการ 5 ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยถึง

และใบ 1 ย่อมเจริญด้วยเปลือก 1 ย่อมเจริญด้วยกะเทาะ 1 ย่อมเจริญด้วย
กระพี้ 1 ย่อมเจริญด้วยแก่น 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นสาละใหญ่อาศัย
ขุนเขาหิมวันต์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญ 5 ประการนี้แล ฉันใด ชนภายใน
อาศัยเจ้าบ้านผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ 5 ประการ ฉันนั้นเหมือน
กันแล ความเจริญ 5 ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา 1 ย่อม
เจริญด้วยศีล 1 ย่อมเจริญด้วยสุตะ 1 ย่อมเจริญด้วยจาคะ 1 ย่อมเจริญด้วย
ปัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยเจ้าบ้านผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญ
ด้วยความเจริญ 5 ประการนี้แล.
ต้นไม้ทั้งหลาย อาศัยบรรพตศิลา
ล้วนในป่าใหญ่ ย่อมเจริญขึ้นเป็นไม้ใหญ่
ชั้นเจ้าป่า ฉันใด บุตร ภรรยา มิตร
อำมาตย์ หมู่ญาติ และคนที่เข้าไปอาศัย
เลี้ยงชีพทั้งหลายในโลกนี้ ได้อาศัยกุลบุตร
ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีลจึงเจริญได้
ฉันนั้นเหมือนกัน ชนเหล่านั้นเห็นศีล
จาคะและสุจริตทั้งหลาย ของกุลบุตรผู้มี
ศีล จาคะและสุจริตนั้น เมื่อประจักษ์ชัด
แล้ว ย่อมประพฤติตาม ชนเหล่านั้น ครั้น
ประพฤติธรรมอันเป็นที่ไปสู่สวรรค์ สุคติ
ในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เพลิดเพลิน
เพียบพร้อมด้วยกาม บันเทิงใจในเทวโลก.

จบสาลสูตรที่ 10
จบสุมนวรรคที่ 4

อรรถกถาสาลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสาลสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหาสาลา คือต้นไม้ใหญ่. บทว่า สาขาปตฺตปลาเสน
วฑฺฒนฺติ
คือเจริญด้วยกิ่งเล็กและใบ ที่เรียกกันว่าปัตตะ. บทว่า อรญฺญสฺมึ
คือ ในที่มิใช่บ้าน. บทว่า พฺรหาวเน ได้แก่ ในป่าใหญ่ คือดง. บทที่
เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสาลสูตรที่ 10
จบสุมนวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สุมนสูตร 2. จุนทิสูตร 3. อุคคหสูตร 4. สีหสูตร
5. ทานานิสังสสูตร 6. กาลทานสูตร 7. โภชนทานสูตร 8. สัทธานิสังสสูตร
9. ปุตตสูตร 10. สาลสูตร และอรรถกถกา.